Tuesday, February 28, 2012

บทที่ 8 วิจัยและติดตามผล


วิจัยและติดตามผล
บริการติดตามผลและวิจัย (Follow-up Service)
                   บริการติดตามผล เป็นบริการสุดท้ายของบริการแนะแนว เป็นการติดตามดูว่าการจัดบริการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้น ได้ผลมากน้อยเพียงใด นักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้วนั้นทั้งจบการศึกษาและยังไม่จบการศึกษาประสบปัญหาอะไรบ้าง รวมทั้งการติดตามผลดูนักเรียนที่ยังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและจบการศึกษาไปแล้วว่าประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหรือไม่
วิธีการติดตามผล อาจทำได้ดังนี้
                   1.   การสัมภาษณ์นักเรียนด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงผลของการช่วยเหลือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด
                   2. การสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียน เช่น เพื่อนนักเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง บิดามารดา เพื่อทราบถึงผลของการบริการ
                   3. การส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้ว หรือนักเรียนในโรงเรียนกรอรแบบสอบถาม เพื่อจะได้ทราบผลของการให้บริการ
การบริการติดตามผลมีหัวข้อดังนี้
                   1. ความหมายของการบริการติดตามผล
                         บริการติดตามผล (Follow - up Service) หมายถึง บริการที่จัดขึ้นเพื่อติดตามผลนักเรียนที่ได้รับการแนะแนวไปแล้วทั้งที่นักเรียนกำลังเรียน นักเรียนที่จบจากโรงเรียน และนักเรียนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อตรวจสอบดูผลว่า บริการแนะแนวของโรงเรียนที่ได้จัดทำไปแล้วนั้น ได้ผลเพียงใดนักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือไม่ นักเรียนที่ออกไปแล้วนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง ต้องการความช่วยเหลือทางใดบ้าง
                   2. วัตถุประสงค์ของบริการติดตามผล
                         -    เพื่อช่วยเหลือนักเรียนผู้เคยมารับบริการแนะแนวแล้ว ว่าได้รับผลตามมุ่งหมายของกาให้บริการหรือไม่
                         -     เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาต่างๆ ที่นักเรียนซึ่งออกจากโรงเรียนไปแล้ว ต้องประสบกับปัญหาเหล่านั้น
                         -    เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการประเมินผลงานแนะแนวและเพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียน โดยยึดประสบการณ์ของศิษย์เก่าเป็นแนวทาง
                         -    เพื่อตรวจสอบดูว่านักเรียนเก่าของโรงเรียนมีความพร้อมในการศึกษาต่อหรือประกอยอาชีพต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด
                         -     ติดต่อกับนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้วสำหรับการให้ความช่วยเหลือต่อไป
                         -    เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงงเรียน นักเรียน และชุมชน
                         -    เพื่อรวบรวมข้อสนเทศเกี่ยวกับโอกาสในอาชีพต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนปัจจุบัน
                         -    เพื่อฟังความคิดเห็นของนักเรียนเก่า สำหรับนำมาปรับปรุงโครงการต่างๆของโรงเรียนให้สนองความต้องการของนักเรียนให้ได้มากที่สุด
                         -    เพื่อจัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนเก่าของโรงเรียนอันเป็นบริการต่อเนื่อง
                         -    เพื่อเก็บข้อมูลเชิงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ต่อการจัดระบบและวิธีการให้บริการแนะแนว
                         -     เพื่อเก็บข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับ งานอาชีพ ปัญหาทางสังคม สภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่นักเรียนได้พบในโลกภายนอก เพื่อหาวิธีการแนะแนวที่จะป้องกันปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนให้มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดีในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคม
                   3.   หลักการของการจัดโครงการเพื่อติดตามผล
                         -    จัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ครู ครูแนะแนว นักเรียนปัจจุบัน และนักเรียนเก่า เพื่อช่วยพิจารณาจุดมุ่งหมาย เป้าหมายและวิธีการดำเนินงานในการติดตามผล
                         -    กำหนดขอบข่ายของงานการติดตามผล และดำเนินการโดยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย
                         -    ติดต่อกับแหล่งต่างๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลข่าวสารได้ เช่น บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการและเอกชน ซึ่งนักเรียนได้เข้าทำงานอยู่
                         -    อธิบายโครงการการติดตามผลแก่นักเรียนปัจจุบัน เพื่อจะได้ความคิดเห็นและขอความช่วยเหลือ ทั้งในขณะปัจจุบันและเมื่อออกจากโรงเรียนไปแล้ว
                         -    กำหนดวิธีการต่างๆที่ใช้ในการติดตามผล - ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่อาจจะให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนในการดำเนินงานติดตามผล
                   4. นักเรียนที่โรงเรียนควรติดตามผลนักเรียนที่โรงเรียนควรติดตามผล ได้แก่
                         -    นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน
                         -   นักเรียนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน - นักเรียนปัจจุบันซึ่งได้รับการแนะแนวไปแล้ว การติดตามผลนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน
                         -    เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตร เช่น วิชาใดมีประโยชน์ในศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ และวิชาใดควรปรับปรุงการสอนของเนื้อหาวิชา
                         -    เพื่อเป็นการให้บริการนักเรียนที่ออกจากโรรงเรียนไปแล้วเป้นบริการต่อเนื่อง การติดตามผลนักเรียนที่จบจากโรงเรียนเป็นปีแรกเพราะระยะนี้นักเรียนอาจมีปัญหาในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ การปรับตัว เป็นต้น การติดตามผลนักเรียนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน
                         -    เพื่อเป็นการให้บริการนักเรียนที่ออกจากโรรงเรียนไปแล้วเป็นบิการต่อเนื่อง เพราะนักเรียนอาจมีปัญหาในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการปรับตัว
                         -    เพื่อเป็นการพิจารณาสาเหตุของนักเรียนที่อออกจากโรงเรียนกลางคัน โดยยังไม่สำเร็จการศึกษา การติดตามผลนักเรียนปัจจุบันที่ได้รับการแนะแนวไปแล้ว ส่วนใหญ่ของการติดตามผลนักเรียนประเภทนี้ ได้แก่ นักเรียนปัจจุบันซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน การติดตามผลมีดังนี้
                                -    เพื่อการตรวจสอบโดยวิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อติดตามผลดูว่านักเรียนได้นำวิธีการต่างๆที่ได้รับการแนะแนวไปปฏิบัติ หรือไม่อย่างไร
                                -    เพื่อการพิจารณาผลที่นักเรียนได้กระทำไปแล้วเป็นไปตามเป้าหมายของการแนะแนวและการให้คำปรึกษาหรือไม่
                                -    เพื่อการช่วยเหลือบริการให้คำปรึกษาแนะแนวได้เป็นไปอย่างถูกต้องและได้ผลดียิ่งขึ้น
                                -    เพื่อเป็นการจัดบริการให้คำปรึกษาและแนะแนวที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทางกาย และวุฒิภาวะของนักเรียนต่อเนื่องกัน
                                -    เพื่อพิจารณาผลและประสิทธิภาพของหลักสูตร วิธีสอน และกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน
                                -    เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร วิธีสอน และงานแนะแนวของโรงเรียนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้นต่อพัฒนาการของนักเรียน
                   5.   วิธีการติดตามผล
                         -    การสัมภาษณ์นักเรียนเอง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น บิดา มารดา ญาติ เพื่อน
                         -    การใช้แบบสอบถาม หรือแบบสำรวจ
                         -    การพูดและการอภิปรายของนักเรียนเก่า
                         -    การสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับนักเรียนที่ต้องการติดตามผล
                         -    การใช้การติดต่อทางโทรศัพท์
                         -    การใช้การติดต่อทางจดหมาย
ในบรรดาวิธีการติดตามผลดังกล่าวมานี้ มีผู้นิยมใช้อยู่ 2 วิธี คือ
                   -    การสัมภาษณ์
                   -    การใช้แบบสอบถาม
                   การสัมภาษณ์เพื่อติดตามผลนักเรียนนั้นเหมาะสมที่จะใช้ติดตามนักเรียนที่กำลังอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น เพราะเมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาไปแล้วต่างแยกย้ายกันไปศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพในที่ต่างๆกัน จึงเป็นการยากที่จะให้การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์นั้นต้องใช้เวลามาก จึงไม่มีผู้นิยมใช้การสัมภาษณ์ในการติดตามผลมากนัก การใช้แบบสอบถามเพื่อติดตามผลนักเรียน เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับติดตามผล ทั้งนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ และที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว วิธีนี้เป็นการประหยัดเงินและเวลามาก
ข้อมูลต่างๆที่ได้จากการติดตามผลจะต้องนำมาวิเคราะห์ และการวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายวิธีซึ่งอาจจะใช้สถิติขั้นพื้นฐาน เช่น การคำนวณหาค่าร้อยละ เพื่อช่วยให้ทางสถาบันการศึกษาได้พิจารณาว่ามีปัญหาอะไรบ้าง แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขในการวางแผนการศึกษาและการจัดบริการแนะแนวของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

No comments:

Post a Comment