Tuesday, February 28, 2012

บทที่ 4 บริการสนเทศ


บริการสนเทศ (Information Service)
บริการสนเทศ (Information Service)
                   บริการสนเทศ (Information Service) หมายถึง บริการที่จัดหารวบรวมข่าวสารทั้งทางด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัว และสังคมโดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการต่างๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์แจกแจง เพื่อให้เป็นข้อสนเทศและพร้อมที่จะนำเสนอให้แก่นักเรียนหรือผู้รับบริการด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อที่นักเรียนหรือผู้บริการสามารถที่จำนำมาประกอบการตัดสินใจได้ด้วยตนเองต่อไป
วัตถุประสงค์ของบริการสนเทศ
                   การจัดบริการสนเทศมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญหลายประการตามที่ นอรีสและคณะ (Norris, Zeran Hatch, 1960: 24 – 29) กล่าวไว้ดังนี้
                   1.   เพื่อพัฒนาความเข้าใจและการยอมรับตนเองของบุคคล
                   2.   เพื่อช่วยพัฒนากระบวนการตัดสินใจของบุคคล
                   3.   เพื่อแสดงให้เห็นว่าบุคคลทุกคนมีคุณค่า มีเกียรติ และมีศักดิ์ศรีแห่งตนเอง
                   4.   เพื่อให้ทราบว่าบุคคลมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ ความถนัด ความสามารถและค่านิยมแห่งบุคคล
                   5.   เพื่อให้บุคคลทราบว่าความชำนาญงานแต่ละอาชีพของบุคคลมีความแตกต่างกัน
                   6.   เพื่อให้บุคคลตระหนักว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสภาพสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการด้านอาชีพของบุคคล
                   7.   เพื่อให้บุคคลได้ทราบถึงโอกาส และปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการศึกษาและการพัฒนาอาชีพทุกระดับ
                   8.   เพื่อให้บุคคลตระหนักว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อสนเทศทางด้านอาชีพ การศึกษาส่วนตัว และสังคมที่ถูกต้องและเที่ยงตรง
                   9.   เพื่อให้บุคคลได้ทราบและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขว้างทั้งทางด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัว และสังคม
                   10. เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถนำเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ตีความและแปลความหมายของข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ
                   11. เพื่อช่วยเสริมสร้างเจตคติและนิสัยที่จะช่วยให้การตัดสินใจ และการปรับตัวของบุคคล
                   12. เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจทำกิจกรรมตามขอบเขตที่เหมาะสมกับความถนัด ความสามารถ และความสนใจของบุคคล
                   13. เพื่อพัฒนาความสนใจในการประกอบอาชีพที่บุคคลธรรมดาไม่มีความสามารถประกอบได้ แต่เป็นอาชีพที่บุคคลบางคนสามารถประกอบได้
ประเภทของข้อสนเทศ
                   นอรีส และคณะ (Norris, Zeran and Hatch, 1960: 22 – 23) ได้แบ่งข้อสนเทศออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ
                   1.   ข้อสนเทศทางด้านอาชีพ (Occupational Information)
                         ข้อสนเทศทางด้านอาชีพ (Occupational Information) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรงและก่อให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงาน การหาแหล่งงาน การเข้าสู่อาชีพ ลักษณะและชนิดของอาชีพ รวมทั้งสถานภาพของงาน ค่าตอบแทน ความก้าวหน้า ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต
                   2.   ข้อสนเทศทางด้านการศึกษา (Educational Information)
                         ข้อสนเทศทางด้านการศึกษา (Educational Information) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรงและก่อให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษาและการฝึกอบรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในด้านการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อ หลักสูตรการเรียนและปัญหาต่างๆ ของชีวิตการเป็นนักเรียน นิสิตนักศึกษา
                   3.   ข้อสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม (Personal – Social Information)
                         ข้อสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม (Personal – Social Information) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง และก่อให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับบุคคลในการที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งนักเรียน นิสิตนักศึกษาสามารถที่จะนำข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรงเหล่านั้นมาสำรวจตนเอง เพื่อให้เกิดการปรับตัวที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สาเหตุการแบ่งข้อสนเทศ
                   สาเหตุที่มีการแบ่งข้อสนเทศออกเป็นประเภทต่างๆ นั้น คมเพชร  ฉัตรศุภกุล (2521:6) ได้ให้ทัศนะไว้สรุปได้ดังนี้ คือ
                   1.   เพื่อเน้นให้ข้อมูลแต่ละประเภทมีความเด่นชัดขึ้นมาซึ่งจะเป็นผลทำให้ผู้แนะแนวสนใจในข้อมูลมากขึ้นและสามารถจัดหาข้อมูลได้เป็นอย่างดี
                   2.   การแข่งข้อสนเทศดังกล่าว จะทำให้ผู้แนะแนวมีความมั่นใจว่าข้อมูลทั้งหลายไม่ถูกละเลยเพราะข้อมูลแต่ละด้านนั้นมีความสำคัญพอๆ กัน
                   3.   การแบ่งข้อมูลจะช่วยให้ผู้แนะแนวได้ทราบว่า ข้อมูลอะไรบ้างที่นักเรียนยังไมได้รับอย่างสมบูรณ์และควรจะให้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้างในแต่ละด้าน
แหล่งบริการสนเทศ
                   แหล่งบริการสนเทศ หมายถึง หน่วยงานหรือสถาบันที่ทำหน้าที่สะสมและให้บริการสนเทศ โดยสามารถแบ่งที่มาของแหล่งบริการสนเทศต่างๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources) และแหล่งทุติยภูมิ (Intermediate Sources)
                   -     แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources) แหล่งปฐมภูมิเป็นแหล่งต้นตอของข้อสนเทศ ซึ่งแหล่งต้นตอของข้อสนเทศทั้ง 3 ประเภท มีดังนี้
                         1.   แหล่งต้นตอของข้อสนเทศด้านอาชีพ
                         2.   แหล่งต้นตอของข้อสนเทศด้านการศึกษา
                         3.   แหล่งต้นตอของข้อสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม
                   -     แหล่งทุติยภูมิ (Intermediate Sources) แหล่งทุติยภูมิ เป็นแหล่งที่ได้รับข้อเสนอจากแหล่งต้นตออีกต่อหนึ่ง แหล่งทุติยภูมิโดยทั่วๆ ไปทั้งทางด้านอาชีพ การศึกษา ส่วนตัวและสังคม นั้นแหล่งทุติยภูมิมีความสำคัญต่อการจัดบริการสนเทศเพื่อการแนะแนวมาก ข้อสนเทศชนิดนี้ได้จากการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการกับผู้ที่มีประสบการโดยตรง
แหล่งบริการสนเทศทางด้านอาชีพ
                   แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
                         1.   แหล่งที่เป็นองค์กรในการผลิต ควบคุม และให้บริการ
                         2.   แหล่งประเภทเอกสารสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาชีพที่ผลิตขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน ตัวบุคคลและสมาคมวิชาชีพต่างๆ และแหล่งที่ใช้ข้อสนเทศต่างๆ ได้จัดพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวกับข้อสนเทศด้านอาชีพหลายรูปแบบ
                         3.   แหล่งที่เป็นตัวบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่พอที่จะเป็นแนวทางหรือตัวอย่างแก่ผู้อื่น
แหล่งบริการสนเทศทางด้านการศึกษา
                   แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
                         1.   แหล่งที่เป็นองค์กรในการผลิต การควบคุม และให้บริการ
                         2.   แหล่งประเภทเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ผลิตขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐหน่วยงานเอกชน ตัวบุคคลและสมาคมวิชาชีพต่างๆ
                         3.   แหล่งที่เป็นตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ภายในสถานศึกษาต่างๆ
แหล่งบริการสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม
                   แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
                         1.   แหล่งที่เป็นองค์กรในการผลิตและให้บริการ
                         2.   แหล่งประเภทเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับทางด้านส่วนตัวและสังคมที่ผลิตขึ้น โดยหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน ตัวบุคคล และสมาคมวิชาชีพต่างๆ
                         3.   แหล่งที่เป็นบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต สมควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้ หรือเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในทางสร้างสรรค์ต่อสังคม โดยอาจจะเชิญท่านเหล่านั้นมาเป็นวิทยากรบรรยาย อภิปราย หรือแสดงปาฐกถาให้แก่นักเรียนหรืออาจให้นักเรียน


No comments:

Post a Comment