Tuesday, February 28, 2012

บทที่ 1 บริหารงานแนะแนว


บริหารงานแนะแนว
บริหารงานแนะแนว
                   การจัดการแนะแนวในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนอง โดยจัดควบคู่กับการจัดการศึกษาตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน จัดการแนะแนวให้มีความหลากหลายในการปฏิบัติ เป็นการแนะแนวในเชิงรุก ให้หลายๆ ส่วน หลายหน่วยสังคมมีส่วนร่วมเป็นเครือข่าย ในการแนะแนวชีวิตและสังคม เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนสามารถดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของการเป็น คนดี คนเก่ง และเป็นคนที่มีความสุข
ขอบข่ายงานแนะแนว
                   การแนะแนวมีสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
                   1.   การแนะแนวการศึกษา มุ่งหวังให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนได้เต็มศักยภาพ รู้จักแสวงหาความรู้ และวางแผนการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวด้านการเรียน และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
                   2.   การแนะแนวอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและโอกาสของงานอย่างหลากหลาย มีเจตคติ และนิสัยที่ดีในการทำงาน มีโอกาสได้รับประสบการณ์ตามความถนัด ความสนใจ
                   3.   การแนะแนวเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีอารมณ์มั่นคง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจสิ่งแวดล้อมและสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
ภาระงานในการแนะแนว
                   ประกอบด้วย 5 งานหลัก ดังนี้
                         1.   งานศึกษารวบรวมข้อมูล
                         2.   งานสารสนเทศ
                         3.   งานให้คำปรึกษา
                         4.   งานจัดวางตัวบุคคล
                         5.   งานติดตามและประเมินผล
วัตถุประสงค์
                   1.   เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักวางแผนชีวิตและการแก้ปัญหา มีพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
                   2.   เพื่อช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนเกิดความเข้าใจพื้นฐานของนักเรียนจะได้จัดหา รวบรวมข้อมูล ที่อำนวยประโยชน์ต่อความต้องการของนักเรียน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน
                   3.   เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดี ระหว่างผู้ปกครองกับแผนการเรียนของโรงเรียน เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เข้าใจและปฏิบัติต่อเด็กได้ดี
                   4.   เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับโรงเรียน ในการที่จะช่วยพัฒนาเด็ก ให้เข้าใจวิธีการทำงาน และเข้าใจเด็กในวัยต่าง
จุดมุ่งหมายของการแนะแนว
                   1.   ก่อ หรือ พัฒนา
                   2.   กัน หรือ ป้องกัน
                   3.   แก้ หรือ แก้ไข
ประเภทของการแนะแนว
                   1.   การแนะแนวการศึกษา
                   2.   การแนะแนวอาชีพ
                   3.   การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
บริการหลักของแนะแนว
                   1.   บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน
                   2.   บริการสนเทศ
                   3.   บริการให้คำปรึกษา
                   4.   บริการจัดวางตัวบุคคล
                   5.   บริการติดตามผลและประเมินผล
การสอนกิจกรรมแนะแนว
                   1.   บุคลากรสอนกิจกรรมแนะแนวจำนวนท่าน
                   2.   ทำประมวลวิชาและแผนการสอนกิจกรรมแนะแนว
                   3.   จัดหา จัดทำสื่อประกอบการจัดกิจกรรมแนะแนว
                   4.   เชิญวิทยากรให้ความรู้ด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ


No comments:

Post a Comment