Tuesday, February 28, 2012

บทที่ 1 บริหารงานแนะแนว


บริหารงานแนะแนว
บริหารงานแนะแนว
                   การจัดการแนะแนวในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนอง โดยจัดควบคู่กับการจัดการศึกษาตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน จัดการแนะแนวให้มีความหลากหลายในการปฏิบัติ เป็นการแนะแนวในเชิงรุก ให้หลายๆ ส่วน หลายหน่วยสังคมมีส่วนร่วมเป็นเครือข่าย ในการแนะแนวชีวิตและสังคม เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนสามารถดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของการเป็น คนดี คนเก่ง และเป็นคนที่มีความสุข
ขอบข่ายงานแนะแนว
                   การแนะแนวมีสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
                   1.   การแนะแนวการศึกษา มุ่งหวังให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนได้เต็มศักยภาพ รู้จักแสวงหาความรู้ และวางแผนการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวด้านการเรียน และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
                   2.   การแนะแนวอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและโอกาสของงานอย่างหลากหลาย มีเจตคติ และนิสัยที่ดีในการทำงาน มีโอกาสได้รับประสบการณ์ตามความถนัด ความสนใจ
                   3.   การแนะแนวเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีอารมณ์มั่นคง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจสิ่งแวดล้อมและสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
ภาระงานในการแนะแนว
                   ประกอบด้วย 5 งานหลัก ดังนี้
                         1.   งานศึกษารวบรวมข้อมูล
                         2.   งานสารสนเทศ
                         3.   งานให้คำปรึกษา
                         4.   งานจัดวางตัวบุคคล
                         5.   งานติดตามและประเมินผล
วัตถุประสงค์
                   1.   เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักวางแผนชีวิตและการแก้ปัญหา มีพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
                   2.   เพื่อช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนเกิดความเข้าใจพื้นฐานของนักเรียนจะได้จัดหา รวบรวมข้อมูล ที่อำนวยประโยชน์ต่อความต้องการของนักเรียน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน
                   3.   เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดี ระหว่างผู้ปกครองกับแผนการเรียนของโรงเรียน เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เข้าใจและปฏิบัติต่อเด็กได้ดี
                   4.   เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับโรงเรียน ในการที่จะช่วยพัฒนาเด็ก ให้เข้าใจวิธีการทำงาน และเข้าใจเด็กในวัยต่าง
จุดมุ่งหมายของการแนะแนว
                   1.   ก่อ หรือ พัฒนา
                   2.   กัน หรือ ป้องกัน
                   3.   แก้ หรือ แก้ไข
ประเภทของการแนะแนว
                   1.   การแนะแนวการศึกษา
                   2.   การแนะแนวอาชีพ
                   3.   การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
บริการหลักของแนะแนว
                   1.   บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน
                   2.   บริการสนเทศ
                   3.   บริการให้คำปรึกษา
                   4.   บริการจัดวางตัวบุคคล
                   5.   บริการติดตามผลและประเมินผล
การสอนกิจกรรมแนะแนว
                   1.   บุคลากรสอนกิจกรรมแนะแนวจำนวนท่าน
                   2.   ทำประมวลวิชาและแผนการสอนกิจกรรมแนะแนว
                   3.   จัดหา จัดทำสื่อประกอบการจัดกิจกรรมแนะแนว
                   4.   เชิญวิทยากรให้ความรู้ด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ


บทที่ 2 คุณสมบัติของครูแนะแนว


คุณสมบัติของครูแนะแนว
คุณสมบัติของครูแนะแนว
                   งานแนะแนวเป็นวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชานี้จำเป็นจะต้องเป็นผู้ได้รับการศึกษา ฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะจึงจะสามารถทำงานแนะแนวให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูแนะแนวนั้น กรมวิชาการ ได้กำหนดไว้ว่าอย่างน้อยควรจะมี 3 ประการ คือ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการแนะแนว และคุณสมบัติบางประการที่จำเป็น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                         -     วุฒิทางการศึกษา มีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีและได้รับการศึกษาอบรมทางด้านการแนะแนวหรือจิตวิทยาโดยเฉพาะ หรือได้รับการอบรมวิชาการแนะแนวตามหลักการที่คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพของกระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้
                         -     ประสบการณ์ เป็นครูอย่างน้อย 5 ปี และไม่เคยปฏิบัติงานแนะแนวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีและได้สอนนักเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ในระดับชั้นการศึกษาที่ทำหน้าที่แนะแนว
คุณสมบัติที่จำเป็น
                   1.   มีความสนใจเรื่องการแนะแนว
                   2.   มีความสนใจทุกข์สุขของนักเรียน
                   3.   มีความเข้าใจเรื่องการสอนการเรียน และทำการสอนได้ผลดีมาแล้ว
                   4.   มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตมาแล้วพอสมควร
                   5.   มีความรู้เกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ทันต่อเหตุการณ์เสมอ
                   6.   ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม เช่นยุติธรรม มีขันติ มีความจริงใจ รักษาความลับและไว้วางใจได้
                   7.   มีความสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
                   8.   มีบุคลิกภาพดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่ติดต่อด้วย นักเรียนอยากเข้าใกล้และเกิดความรู้สึกไว้วางใจ
                   9.   ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของคนอื่น สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น
                   10.  มีศิลปะในการพูด การฟัง อันจะทำให้การแนะแนวบรรลุผลตามความมุ่งหมาย
                   11.  มีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตดี
                   12.  มีอารมณ์มั่นคงและมีอารมณ์ขัน
                   13.  มีใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
                   14.  มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขุมรอบคอบ
คุณลักษณะ 7 ด้าน
                   1.   บุคลิกลักษณะ
                         บุคลิกลักษณะที่สำคัญของครูจิตฯ แนะแนว
                                -    สุภาพ อ่อนโยน
                                -    มีความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือนักเรียน
                                -    มีความมั่นคงทางอารมณ์
                                -    ใจกว้าง เปิดรับข้อมูลจากนักเรียน รับฟังความคิดเห็น
                                -    แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
                                -    มีความเชื่อมั่นในตนเอง สุขุม ละเอียดรอบคอบ
                                -    บุคลิกภาพดี ผู้อื่นรู้สึกอยากใกล้ ไว้วางใจ
                   2.   ด้านมนุษยสัมพันธ์
                         คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์
                                -    มีความเป็นกันเอง
                                -    ร่วมงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                                -    เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                                -    ให้เกียรติและยอมรับผู้อื่น
                                -    เข้าใจ เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ
                                -    ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                                -    ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
                                -    มีศิลปะการพูดและการฟัง
                   3.   ด้านความเป็นผู้นำ
                         คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ
                                -    มีความเสียสละ
                                -    มีความรับผิดชอบ
                                -    มีความเป็นประชาธิปไตย
                                -    ใฝ่หาความรู้
                                -    คิดริเริ่ม
                                -    กล้าแสดงความคิดเห็น
                                -    สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                -    ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   4.   ด้านคุณธรรมและความประพฤติ
                         คุณลักษณะด้านคุณธรรมและความประพฤติ
                                -    ซื่อสัตย์ สุจริต
                                -    ยุติธรรม
                                -    รักษาความลับ
                                -    มีหลักการและอุดมคติ
                                -    มีคุณธรรมและจริยธรรม
                                -    ยึดหลักความถูกต้อง
                                -    เป็นแบบอย่างที่ดีงาม
                   5.   ด้านการดำเนินชีวิต
                         คุณลักษณะด้านการดำเนินชีวิต
                                -    มีความพึงพอใจในตนเอง ครอบครัว อาชีพ
                                -    มีความรู้ความเข้าใจในงาน
                                -    เป็นผู้ทันเหตุการณ์
                                -    มีความยืดหยุ่น
                   6.   ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว (การสอน)
                         คุณลักษณะด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว
                                -    รู้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลระบบการศึกษา และอาชีพ
                                -    รู้กลวิธีการแนะแนว
                                -    รู้ด้านจิตวิทยา
                                -    มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และการทดลอง
                                -    รู้จรรยาบรรณ และหน้าที่ของครู
                   7.   ด้านทักษะการแนะแนว
                         คุณลักษณะด้านทักษะการแนะแนว
                                -    ทักษะในการเก็บข้อมูลรายบุคคล – การใช้เครื่องมือต่างๆ
                                -    การบริการสนเทศ – การจัดหาข่าวสาร การถ่ายทอดข่าวสาร
                                -    การให้คำปรึกษา
                                -    การจัดวางตัวบุคคล
                                -    การประเมินผล และติดตามผล
                                -    การประชาสัมพันธ์
จรรยาบรรณของครูแนะแนว
                   -     เคารพในศักดิ์ศรี และส่งเสริมสนับสนุนสวัสดิภาพของนักเรียน
                   -     สัมพันธภาพในการให้คำปรึกษา และเก็บความลับ
                   -     บันทึกต่างๆ เกี่ยวกับนักเรียนในการให้คำปรึกษาหรือ Case Study จะต้องปกปิดเอกลักษณ์
                   -     ในกรณีให้คำปรึกษา จะต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงเงื่อนไขต่างๆ
                   -     หากมีการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ครูแนะแนวจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงสภาพที่จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญอยู่ในสภาวะขัดแย้งในใจ – ให้เป็นอิสระจากข้อผูกพันใดๆ
                   -     หากไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ควร “ส่งต่อ”
                   -     หากได้รับข้อมูลที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น – รายงานเงื่อนไข หรือสภาพการณ์แก้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เปิดเผยว่าได้รับข้อมูลมาจากไหน
                   -     หากมีผู้อื่นมาช่วยในการให้คำปรึกษา แล้วเกิดปัญหาที่ก่อให้เกิดอันตราย จะต้องรายงานข้อเท็จจริงต่อผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดข้อบังคับ
เทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                   1.   ไม่ใช่แบบทดสอบ
                   2.   ที่เป็นแบบทดสอบ
เทคนิคและอุปกรณ์ที่ไม่ใช่แบบทดสอบ
                   1.   การสังเกต
                   2.   ระเบียบพฤติการณ์
                   3.   มาตราส่วนประมาณค่า
                   4.   การสัมภาษณ์
                   5.   อัตชีวประวัติ
                   6.   บันทึกประจำวัน
                   7.   สังคมมิติ
                   8.   แบบสอบถาม
                   9.   แบบตรวจสอบ
                   10. การเยี่ยมบ้าน
                   11. การตรวจสุขภาพและระเบียนสุขภาพ
                   12. ระเบียนสะสม
                   13. การศึกษารายกรณี
                   14. การประชุมรายกรณี
การให้ข้อสนเทศนักเรียนเป็นกลุ่ม
                   -     การปฐมนิเทศ
                   -     กิจกรรมโฮมรูม
                   -     การจัดวันอาชีพ
                   -     การจัดวันวิทยาลัย
                   -     หนังสือคู่มือนักเรียน
                   -     การศึกษานอกสถานที่
                   -     กิจกรรมแนะแนว
                   -     กิจกรรมเสริมหลักสูตร
                   -     ปัจฉิมนิเทศ

บทที่ 3 บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล


บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
                   บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล คือ บริการศึกษาเด็กเป็นรายุคคล เป็นบริการอันดับแรกของบริการแนะแนว เป็นบริการที่ทำให้ผู้แนะแนวและครูสามารถรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ช่วยผู้แนะแนวสามารถรู้จักตัวนักเรียนมากยิ่งขึ้น และสามารถหาทางช่วยเหลือได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
                   การศึกษาและการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว เช่น ผู้บริหาร ครูแนะแนว ครู รวมทั้งบิดามารดาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถรู้จักและเข้าใจนักเรียนได้อย่างดี
การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ การรวบรวมข้อมูล
หลักในการรวบรวมข้อมูล
                   1.   ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลที่ชัดเจน สามารถเข้าใจได้ง่าย
                   2.   ข้อมูลที่จัดหาต้องตรงความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่สรรหามาเป็นอย่างดี
                   3.   เป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เท่าทันเหตุการณ์ ไม่ล้าสมัย
                   4.   เมื่อได้ข้อมูลหลาย ๆ อย่างแล้ว ต้องเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันจัดให้เข้าพวกเข้าหมู่อย่างมีระเบียบ
                   5.   ข้อมูลที่ได้ต้องเก็บเข้าแฟ้มให้เรียบร้อย เพื่อจะได้สามารถได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ได้รวดเร็วเมื่อต้องการใช้
วิธีรวบรวมข้อมูล
                   1.   การสังเกต เพื่อดุพฤติกรรมของเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวินิจฉับปัญหา การสังเกตพฤติกรรมของเด็กต้องมีวัตถุประสงค์ในการสังเกต การสังเกตแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
                         1.   แบบให้คะแนน จะใช้ตัวเลขแทนการบอกคุณลักษณะที่ต้องการจะประมาณค่า
                         2. แบบพรรณนา จะบรรยายคุณลักษณะ ความสูงต่ำ มากน้อยของคุณสมบัติแล้วให้ผู้ประมาณค่าใส่เครื่องหมายที่ช่องว่างหน้าข้อความที่ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของผู้ประมาณค่า
                         3. แบบกราฟ ผู้ประมาณค่าจะใส่ลงตามช่องพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด
                         4. แบบเปรียบเทียบ ใช้เปรียบเทียบค่าของสิ่งที่ได้ประมาณแล้วของเด็กสองคน โดนำเอาลักษณะต่างๆ มาเปรียบเทียบกันในลักษณะที่เท่ากัน ดีกว่ากัน เลวกว่ากัน มาตราส่วนเปรียบเทียบเป็นวิธีการนำเอาลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน
                   2.   การออกแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากบุคคลจำนวนมากโดยใช้ระยะเวลาสั้น ๆ และจะได้ข้อมูลจำนวนมากอย่างกว้าง ๆ สามารถประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย แบบสอบถามทั่วๆ ไปมี 3 ลักษณะคือ
                         1. เป็นแบบสอบถามที่ต้องการทราบเรื่องราวที่เป็นความจริง โดยให้ตอบรับหรือปฎิเสธสั้นๆ เท่านั้น
                         2. เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบเปิดเผยความรู้สึกหรืออารมณ์ส่วนตัว
                         3.   เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบมีโอกาสตอบอย่างเสรีตามความคิดเห็นของตนเอง
                   3.   สังคมมิติ เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล โดยการใช้จัดสถานภาพทางสังคมของเด็กเพื่อทราบถึงสภาพหรือความสัมพันธ์ของเด็กที่อยู่สังคมเดียวกัน ทำให้ทราบถึงบุคลิกภาพของเด็กที่มีผลต่อสภาพสังคมรอบๆ สังคมมิติคือ วิธีการที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เกี่ยวกับสังคมของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันโดยใช้วิธีการถามถึงสภาพความรู้สึกของเด็กแต่ละคนที่มีต่อเพื่อนร่วมกลุ่มของตน
                   4.   การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี เป็นวิธีที่ใช้สำหรับสรุปข้อมูลของบุคคลเป็นรายๆ ไปถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลรวมของบุคลิกภาพ ซึ่งต้องมีการศึกษาประวัติรวบรวมข้อมูลมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และกระทำต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บุคคลผู้ประสบปัญหาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้และจะออกมาในลักษณะของการวิเคราะห์โดยการตีความหมายของข้อเท็จจริงต่างๆ
                         จากข้อมูลที่รวบรวมไว้ในการศึกษารายกรณีต้องดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไปนี้
                         1. ขั้นตั้งปัญหา โดยการเลือกเด็กที่ต้องการศึกษา
                         2. ขั้นรวบรวมข้อมูล เก็บรวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อการศึกษาปัญหาหรือการกระทำ
                         3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล การหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลจากแห่งที่เชื่อถือได้
                         4.   ขั้นตั้งปัญหา เป็นการศึกษาวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาของเด็ก
                         5. ขั้นติดตามผล เป็นการติดตามผลที่แก้ไขปัญหาไปแล้วได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงใหม่
                   5. ระเบียบพฤติการณ์ เป็นวิธีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างย่อๆ ในช่วงเวลาหนึ่งแล้วสรุปผลออกมา สรุปแล้วระเบียบพฤติการณ์เปรียบเสมือนกับการถ่ายภาพการกระทำต่างๆ ของเด็กในแต่ละครั้งในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นออกมาเป็นข้อความบรรยายอย่างชัดเจน
                   6.   พฤติกรรมวรรณา เป็นการรายงานพฤติกรรมเกี่ยวกับทุกๆ ด้านของนักเรียน เพื่อช่วยให้ครูและผู้แนะแนวมีความเข้าใจเด็กยิ่งขึ้นพฤติกรรมวรรณาแตกต่างกับมาตราส่วนประมาณค่า และระเบียบพฤติการณ์ พฤติกรรมวรรณาจะช่วยสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากมาตราสาวนประมาณค่าและระเบียบพฤติการณ์ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมจะจัดแยกกันไว้เป็นหมวด
                   7.   ระเบียบสะสม เป็นการบันทึกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวเลขตั้งแต่เริ่มเข้เรียนจนกระทั่งออกจากโรงเรียนจนออกจากโรงเรียน ระเบียบสะสมจะมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขดังนี้ คือ
                         1. ข้อมูลส่วนตัว
                         2. ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ
                         3. ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน
                         4. ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาบุคลิกภาพ
                         5. ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการทดสอบ
                         6. ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรม
                         7. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพ
                         8. ข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวเข้ากับสังคม
                         9. ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบพฤติการณ์
                   ระเบียบสะสมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                         1. ชนิดใส่ซอง โดยข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนจะแยกกรองลงในแผ่นระเบียบเป็นแต่ละชนิดไป
                         2. ชนิดพับ โดยข้อมูลทั้งหมดจะกรอกในกระดาษแผ่นเดียวแล้วพับ เป็นแบบที่นิยมกันมากในโรงเรียน
                   8.   การไปเยี่ยมบ้าน เป็นวิธีที่ครูเดินทางไปเยี่ยมนักเรียนเพื่อพบปะปรึกษาหารือกับผู้ปกครอง เพื่อช่วยให้ครูเข้าใจนักเรียนอย่างลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา โดยครูจะได้ทราบเรื่องราวของนักเรียนจากผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาได้
                         หลักในการไปเยี่ยมบ้าน
                         1. ก่อนไปเยี่ยมบ้าน ครูต้องทราบประวัติส่วนตัวของนักเรียนอย่างดีเสียก่อน
                         2. ควรติดต่อให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้าก่อน
                         3. ไม่ควรไปบ่อย หรือไปแต่ละครั้งแล้วอยู่นานๆ
                         4. เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพภายในบ้าน ฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ความสัมพันธ์ของบุคคลภายในครอบครัว ความสนใจของครอบครัว รวมทั้งสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้าน
                         5. ครูต้องมีกลวิธีในการสัมภาษณ์อย่างดี
                         6. ครูต้องปรับตัวเข้ากับผู้ปกครองได้อย่างดี
                         7. บุคคลที่ทำหน้าที่ต้องทำด้วยความสมัครใจไม่ใช่ฝืนใจทำ
                         8. พยายามสร้างความประทับใจต่อผู้ปกครอง
                         9. ต้องกลับมาจดบันทึกทุกครั้งจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เมื่อสงสัยจะได้อ่านดู
                   9.   กลวิธีระบายความในใจ คือวิธีการทดสอบบุคลิกภาพของเด็ก โดยให้เด็กได้แสดงความรู้สึกออกมาโดยใช้เครื่องเร้ากระตุ้นแล้วนำไปตีความหมายอีกครั้งหนึ่ง กลวิธีระบายความในใจอยู่ 2 ชนิดคือ
                         1.   แบบทดสอบการใช้หยดหมึกของรอส์ชาช โดยให้ผู้รับทดลองดูภาพจากหยดหมึกจำนวน 10 ภาพ แล้วให้แสดงความนึกคิดว่าเห็นอะไรจากภาพเล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์
                         2. แบบทดสอบของการดูภาพที่ไม่มีคำอธิบาย เป็นการตรวจดูภาพโดยให้ดูจากรูปภาพไม่มีคำอธิบาย แบ่งออกได้หลายวิธีดังนี้
                                2.1   แบบทดสอบให้บอกสิ่งที่เห็นจากภาพ
                                2.2   แบบทดสอบการแสดงปฏิกิริยาระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
                               2.3   ข้อทดสอบเด็ก
                                2.4   ข้อทดสอบการเล่าเหตุการณ์จากรูปภาพ
                                2.5   ข้อสอบเทคนิคเกี่ยวกับการเล่น
                   10. การใช้แบบสำรวจปัญหา การใช้แบบสำรวจปัญหา เป็นวิธีสำรวจปัญหาของเด็ก ดูว่าเด็กมีปัญหาอะไรบ้าง ผู้ดำเนินการจะต้องรวบรวมปัญหาไว้มาก ๆ แล้วนำปัญหาเหล่านั้นมาเขียนข้อความที่สละสลวย การสำรวจปัญหาจะต้องช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาของนักเรียนเพื่อนำไปจัดการแก้ไขต่อไป
                   11. การทดสอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพ ทัศนคติ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดลักษณะที่แท้จริงของนักเรียน เพื่อทำให้เข้าใจนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น การใช้แบบทดสอบต้องระวังความผิดพลาด ข้อทดสอบต้องมาตรฐานเที่ยงตรง เชื่อถือได้ การนำข้อทดสอบมาใช้ต้องแน่ใจว่าสามารถใช้ได้ผล การใช้ข้อทดสอบศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ควรใช้ภายหลังวิธีอื่น ๆ ชนิดของข้อทดสอบที่ใช้ในการแนะแนวที่สำคัญๆ มีดังนี้
                         1. ข้อทดสอบใช้วัดสติปัญญา
                         2. ข้อทดสอบวัดความถนัดตามธรรมชาติ
                         3. ข้อทดสอบวัดความสนใจ
                         4. ข้อทดสอบวัดความสัมฤทธิ์
                         5.   ข้อทดสอบเกี่ยวกับการปรับตัว
                         6. ข้อทดสอบวัดบุคลิกภาพ